TIG Welding machine


                การเชื่อมทิก (TIG) เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 1890 โดยรู้จักใช้แก๊สปกคลุม ต่อมาในปี 1920 ได้พัฒนาวิธีเชื่อมนี้ให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น  โดยใช้ทั้งสเตนเป็นลวดอาร์กซึ่งให้ความร้อนสูง                ทิก ย่อมาจาก Tungsten Insert Gas สมาคมการเชื่อมของสหรัฐอเมริกา (AWS) เรียกกระบวนการเชื่อมนี้ว่า Gas Tungsten Are Welding โดยใช้คำย่อว่า GTAW, ซึ่งก็คือวิธีการเชื่อมที่ใช้ลวดทังสเตนเป็นตัวอาร์ก และใช้แก๊สเฉื่อยปกคลุมบริเวณอาร์ก สำหรับในยุโรปเรียกกระบวนการนี้ว่า “WIG (W หมายถึง Woffram หรือธาตุทังสเตน)

หลักการเชื่อมทิก                การเชื่อมทิกเป็นการเชื่อมโลหะแบบหลอมละลายที่ไดรับความร้อนจากการอาร์กระหว่างลวดทังสเตนกับชิ้นงานเชื่อม การเชื่อมจะเติมลวดเชื่อมหรือไม่เติมก็ได้


ข้อดีของการเชื่อมทิก

1.      ไม่ต้องใช้ฟลักซ์ ดังนั้นแนวเชื่อมที่ได้จึงไม่จำเป็นที่จะต้องเคาะสแลกออก ซึ่งเป็นการตัดปัญหาในเรื่องสแลกฝังในแนวเชื่อม เพราะสแลกที่ฝังอยู่ในแนวเชื่อมจะทำให้แนวเชื่อมไม่แข็งแรงและเกิดการกัดกร่อน ทั้งนี้โดยการใช้แก๊สเฉื่อยทำหน้าที่แทนฟลักซ์สำหรับปกคลุมแนวเชื่อม ไม่ให้ออกซิเจนและไนโตรเจนจากบรรยากาศมาทำปฏิกิริยา กับแนวเชื่อมหรือโลหะงานขณะหลอมละลาย2.      ส่วนผสมทางเคมีทางแนวเชื่อมที่เกิดขึ้นจะมีส่วนผสมเหมือนลวดเชื่อม จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เนื่องจากแก๊สเฉื่อยที่ปกคลุมแนวเชื่อมจะไม่รวมตัวหรือทำปฏิกิริยากับโลหะ ดังนั้นแนวเชื่อมที่ได้จากกระบวนการทิกจึงแข็งแรง ทนต่อการกัดกร่อนและเหนียวกว่าแนวเชื่อมที่ได้จากกระบวนการเชื่อมอื่น ๆ

3.         สามารถเชื่อมได้ทุกท่าเชื่อม

4.         สามารถมองเห็นแนวเชื่อมและบ่อหลอมละลายได้อย่างชัดเจน เนื่องจากอาร์กที่เกิดขึ้นสะอาดไม่มีควันและสแลกปกคลุม

5.      การเชื่อมทิก ให้ความร้อนสูงและเป็นบริเวณแคบ จึงไม่ทำให้ความร้อนในงานเชื่อมแผ่กระจายกว้างเกินไป งานจึงมีโอกาสบิดตัวน้อย

6.      ไม่มีสะเก็ดเชื่อม (Spatter) เกิดขึ้นที่บริเวณแนวเชื่อม เนื่องจากการเชื่อมทิกไม่มีการส่งผ่านน้ำโลหะลวดเชื่อมข้ามบริเวณอาร์กสู่บ่อหลอมละลาย

7.         สามารถเชื่อมต่อโลหะที่มีความหนาแตกต่างกันได้

ข้อเสียของการเชื่อมทิก

1.       ความเร็วเชื่อมต่ำ

2.       ลวดทังสเตนมีความสกปรกได้ง่าย

3.       ไม่เหมาะกับการเชื่อมโลหะหนามาก เนื่องจากอัตราการเติมลวดเชื่อมต่ำ

4.       ต้องการที่กำบังลมในขณะเชื่อม เพราะลมจะพัดแก๊สคลุมหนีจากบริเวณอาร์ก

Advertising Zone    Close

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...